ufabet

ไตวายเรื้อรังคืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร

ไตวายเรื้อรังคืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร

ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสีย  และน้ำที่มีอยู่เกินออกจากกระแสโลหิตได้  ของที่คั่งและของเหลวที่มีอยู่เกิน  ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน สาเหตุสำคัญของภาวะไตวายเรื้อรัง  เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง, ไตส่วน Glomeruli  อักเสบ, Polycystic Kidney, ยากลุ่ม NSAID, ภาวะ Uric สูงทำให้ Urate เกาะที่ Medullary  Interstitium  เกิด Interstitial Fibrosis แต่ภาวะไตเสื่อมเลวลง

ในระยะแรกของภาวะไตวายเรื้อรังอาจไม่พบอาการผิดปกติ  ในระยะท้ายผู้ป่วยต้องล้างไต หรือเปลี่ยนไตจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ เป้าหมายสำคัญของการรักษา  คือ  การป้องกันไม่ให้ภาวะไตวายเรื้อรังดำเนินโรคเป็นภาวะไตวายระยะสุดท้าย  โดยการควบคุมภาวะโรคที่เป็นสาเหตุของไตวาย  เช่น  เบาหวาน  ความดัน  และภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้  เช่น  การติดเชื้อและการฉีด Contrast เพื่อการวินิจฉัยทางรังสีวิทยา

การทำงานของไตปกติ 

ไตมีหน้าที่กำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากกระแสโลหิต  ของเสียและน้ำส่วนเกินถูกสกัดเป็นปัสสาวะ ในการกลั่นปัสสาวะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ:

  • ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงไตต้องเพียงพอ
  • หน่วยไต เรียกว่า Nephron (Glomeruli และTubule)  ต้องทำหน้าที่ขับของเสียและดูดของดีกลับร่างกาย
  • ทางเดินปัสสาวะต้องไม่อุดตัน

ufabet

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะไตวายเรื้อรัง

ภาวะไตวายเรื้อรังไม่ทำให้เกิดอาการจนกระทั่งระยะท้าย  มักจะพบภาวะไตวายเมื่อตรวจเลือด  หรือปัสสาวะด้วยความผิดปกติหรือโรคอื่น  ส่วนมากแล้วจำนวนปัสสาวะจะปกติ  แต่ปัสสาวะเหล่านี้มีส่วนประกอบของเสียผิดปกติไป เมื่อไตเสื่อมมากขึ้น  ผู้ป่วยเริ่มมีบวมที่เท้า  ข้อเท้า  ขา  เบื่ออาหาร  ง่วงนอนง่าย  คลื่นไส้/อาเจียน  สับสนและสมองตื้อ  บางคนมีความดันโลหิตสูง  ระดับเกลือแร่ผิดปกติ  โลหิตจาง  และโรคกระดูกเสื่อม 

Uremia เป็นกลุ่มอาการในภาวะท้ายของโรคไตวาย  ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร  คลื่นไส้/อาเจียน  เนื้อเยื่อรอบหัวใจบวม  ปลายประสาทเสื่อม  ความคิดสับสน  ง่วงนอน  ชักและ Coma

การประเมินภาวะไตวาย

  • อัตราการกรองของเหลวของ Glomeruli

Glomerular Filtration Rate หรือ GFR เป็นตัวชี้วัดจำนวนหน่วยไตที่ยังทำงานอยู่ ส่วนมากดูที่ระดับ Creatinine  ค่า Creatinine ที่สูงขึ้นแสดงว่า  การทำงานหน่วยไต (Nephron) น้อยลงชั่วคราว หรือถาวร  ค่า Creatinine ที่ลดลงแสดงว่าหน่วยไตทำงานดีขึ้น  ถ้าค่า Creatinine ที่คงที่แสดงว่าโรคไตคงตัว

  • ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria) 

เป็นเครื่องบ่งบอกโรคไต  ปริมาณโปรตีนจำนวนน้อยที่ออกมาหรือที่เรียก Microalbuminuria  เป็นเครื่องชี้วัดโรคไตโดยเฉพาะในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

  • การตรวจทางรังสี  เช่น  CT หรือ Ultrasound

ใช้ดูภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน จากนิ่วหรือสาเหตุอื่น

  • การตรวจชิ้นเนื้อไต (Kidney Biopsy) 

ใช้วิจิฉัยภาวะการอักเสบของ Glomeruli (Glomerulonephritis)  และภาวะโรคไตผิดปกติอย่างอื่น 

ufabet

การรักษาภาวะไตวายเรื้อรัง 

สิ่งสำคัญของการรักษาคือ  การจัดการกับสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง  สาเหตุบางอย่างรักษาได้  เช่น  นิ่วในไต  ยาบางชนิด เช่น  NSAIDS, โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ,  ภาวะ Uric สูง  เป็นต้น

ความดันโลหิต:  พบได้ร้อยละ 80-85 ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง  ยากลุ่ม  Angiotensin  Converting 

Enzyme  Inhibitor (ACEI)  และกลุ่ม Angiotensin  Receptor Blocker (ARB)  สามารถลดความดันโลหิตและปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ  จึงลดอัตราการเสื่อมของโรคไตได้มากกว่ายารักษาความดันโลหิตอื่นๆ

ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)  ใช้ร่วมกับ ACEI และ ARB ได้  เพื่อให้คุมความดันให้ปกติ  

ผู้ให้บริการอาจแนะนำให้ผู้ป่วยวัดความดันตนเองที่บ้านเป็นระยะได้

ภาวะเลือดจาง:  ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีภาวะโลหิตจางได้  เพราะ Juxtaglomerular  Apparatus 

สร้างสาร Erythropoietin ได้น้อยลง  ภาวะเลือดจางทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่าย  ผู้ป่วยบางคนควรได้ฉีด Erythropoietin  โดยผู้ให้บริการ  หรือฝึกญาติให้ฉีดยาให้

การปรับอาหาร

  • จำกัดโปรตีน  ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องล้างไตบ่อย  เพราะหน่วยไต (Nephron)  ไม่ต้องขจัด Urea ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการย่อยโปรตีนมากเกินไป 
  • การระวัง Potassium  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มที่ระดับโปตัสเซียมสูง  การให้ยาขับปัสสาวะบางชนิดช่วยขจัดโปตัสเซียมได้  จำเป็นต้องจำกัดอาหารที่ทำให้โปตัสเซียมสูง  และลดยาที่มีการสะสมโปตัสเซียม 
  • การระวัง Phosphate   สาร Phosphate  เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก  เมื่อหน่วยไต (Nephron) ทำงานน้อย  Phosphate  จะมีปริมาณสูง  จำเป็นต้องทานอาหารที่มี Phosphate น้อย  เช่น  ถั่ว  นมถั่วเหลือง  เนยแข็ง  ไก่  นม  และ Yogurt เป็นต้น

มาตรการลดระดับ Cholesterol และ Triglyceride  ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรัง  มักมี Cholesterol 

และ Triglyceride  สูง  ซึ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (Coronary Artery Disease)  ผู้ป่วยจึงต้องทานอาหารไขมันน้อย  ทานยาลดไขมัน  หยุดบุหรี่  และคุมเบาหวานให้ดี

การร่วมเพศ  ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีปัญหาการร่วมเพศ  ในสตรีอาจจะมีประจำเดือนผิดปกติ  ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์การตั้งครรภ์  การตั้งครรภ์ทำให้ภาวะไตเสื่อมเลวลง  ผู้ป่วยโรคไตที่อยากตั้งครรภ์ต้องมีการเตรียมตัวโดยปรึกษาแพทย์อายุรกรรม  และสูตินรีเวช เมื่อตั้งครรภ์อาจจะแท้ง  ความดันโลหิตสูง  ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre Eclampsia และ Eclampsia)สตรีที่เปลี่ยนไตแล้วมีปัญหาจากการตั้งครรภ์น้อยลง  หากต้องการตั้งครรภ์อาจรอให้เปลี่ยนไตก่อน การเตรียมล้างไต ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอาจต้องเตรียมตัวล้างไต  ซึ่งมี 2 ชนิด Hemodialysis  และ Peritoneal Dialysis  แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียต่างกัน  ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์โรคไตถ้ามีโอกาส  การเปลี่ยนไตเป็นการรักษาที่ดีกว่าการล้างไต


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ anteatersailing.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated